วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559

ศาสนากับสังคมไทย

ศาสนาสำคัญในประเทศไทย

      ความแตกต่างทางศาสนาไม่เคยก่อให้เกิดปัญหาที่ร้ายแรงในประเทศไทยศาสนิกชนไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด  ต่างก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสงบสุขในประเทศไทย ทั้งนี้เพราะทุกศาสนาสอนให้คนละเว้นความชั่วประพฤติแต่ความดี ศาสนาจึงเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจช่วยเหนี่ยวรั้งบุคคลมิให้ประพฤติไม่ดี


๑  ศาสนาอิสลาม
   ศาสนาอิสลาม  เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม  คือ  นับถือพระเป็นเจ้าองค์เดียว  ได้แก่  อัลลอฮ์  โดยมี  มุฮัมมัด  เป็นศาสดาและผู้ประกาศศาสนา  ศาสนาอิสลามไม่มีพระหรือนักบวชเพื่อทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรมและเผยแผ่ศาสนา
   ศาสนาอิสลาม  เป็นศาสนาที่มีผู้นับถืออยู่หลายร้อยล้านคนทั่วโลก  โดยเฉพาะประเทศแถบตะวันออกกลาง  สำหรับประเทศไทยมีประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามอยู่ทั่วไป  แต่บริเวณที่มากที่สุด  คือ  พื้นที่  ๔  ชายแดนจังหวัดภาคใต้  ได้แก่  จังหวัดยะลา  สตูล  ปัตตานี  และนราธิวาส




๑)  คัมภีร์  คัมภีร์ของศาสนาอิสลามแยกเป็น  ๒  คัมภีร์  ได้แก่  คัมภีร์อัลกุรอาน  เป็นคัมภีร์ที่มีเนื้อหาว่าด้วยภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติตามหลักศาสนาอิสลาม  ซึ่งมุสลิมทุกคนต้องเรียนรู้และปฏิบัติตาม  และคัมภีร์หะดีษ  เป็นคัมภีร์ที่ช่วยขยายความเข้าใจให้แก่ชาวมุสลิม  เพราะเนื้อความส่วนใหญ่เป็นหลักธรรมคำสอน  กฎหมาย  ระบบสังคม  การปกครอง และหลักปฏิบัติในชีวิต


 ๒)  นิกาย  ศาสนาอิสลามมีหลายนิกาย  แต่นิกายใหญ่ๆได้แก่
๒.๑)  นิกายซุนนี  เป็นนิกายที่นับถือและปฏิบัติตามแนวทางของศาสดามุฮัมมัดและตามคัมภีร์อัลกุรอานอย่างเคร่งครัด
๒.๒)  นิกายซีอะฮ์  เป็นนิกายแรกที่แยกตัวออกมา  โดยถือว่าอาลีซึ่งเป็นบุตรของเขยของศาสดามุฮัมมัดเท่านั้นเป็นกาหลิบที่ถูกต้อง
๒.๓)  นิกายวาฮาบี  เป็นนิกายที่เน้นความบริสุทธิ์ของศาสนาอิสลามโดยยึดถือคัมภีร์อัลกุรอานและคำสอนของศาสดามุฮัมมัดอย่างเคร่งครัด
๒.๔)  นิกายซูฟี  มุสลิมนี้จะนุ่งผ้าที่ทำด้วยขนแกะชนิดหยาบ  และประพฤติตนคล้ายนักบวช
 ๓)  หลักคำสอน  
          ๓.๑)  หลักศรัทธา  ๖  ประการ  ได้แก่  
๑)  ศรัทธาในเอกภาพของพระผู้เป็นเจ้า
๒)  ศรัทธาในเทวทูตของพระเป็นเจ้า
๓)  ศรัทธาในคัมภีร์อัลกุรอาน
๔)  ศรัทธาต่อศาสนฑูต
๕)  ศรัทธาต่อวันปรโลก
๖)  ศรัทธาในการกำหนดสภาวะของอัลลอฮ์
          ๓.๒)  หลักปฏิบัติ  ๕  ประการ  ได้แก่
๑)  การปฏิญาณตน
๒)  การละหมาด
๓)  การถือศีลอด
๔)  การบริจาคทรัพย์ตามศาสนบัญญัติ  (ซะกาด)
๕)  การประกอบพิธีฮัจญ์
 ๔)  พิธีกรรม  พิธีกรรมที่สำคัญในศาสนาอิสลาม  มี  ๒  พิธี  คือ  
๑)  พิธีรักษาความสะอาด  ซึ่ง  มุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติทุกครั้งก่อนทำพิธีสำคัญๆ
๒)  พิธีขอพรจากพระเป็นเจ้า  พรที่ขอนั้นจะสำเร็จหรือไม่  ย่อมขึ้นอยู่กับเงื่อนไข  เช่น  โอกาส  สถานที่  และพรที่เหมาะสม


                                             ๒)  ศาสนาสิกข์
   คำว่า  สิกข์  เป็นภาษาปัญจาบ  แปลว่า  ผู้ศึกษา  หรือ  ศิษย์  เนื่องด้วยศาสนานี้ถือว่าผู้นับถือศาสนาทุกคนเป็นศิษย์ของคุรุหรือครู  ซึ่งเป็นศาสดาของศาสนาซึ่งมีถึง  ๑๐  องค์ โดยมีคุรุนานัก  เป็นผู้สถาปนาและประกาศศาสนา  และมรคุรุโควินทสิงห์  เป็นศาสดาองค์สุดท้าย


 ๑)  คัมภีร์  คัมภีร์ของศาสนาสิกข์ชื่อว่า  ครันถสาหิพ  แปลว่า  คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์  มีเนื้อหาเป็นคำสวดมนต์สรรเสริญพระเป็นเจ้า
 ๒)  นิกายของศาสนาสิกข์  ศาสนาสิกขามี  ๒  นิกายใหญ่ๆ  ได้แก่  
๑)  นิกายขาลสา  หรือ  นิกายสิงห์  เป็นนิกายที่ผู้นับถือไว้ผมและหนวดยาว
๒)  นิกายสหัชธรี  หรือ  นิกายนานักปันถี  เป็นนิกายที่ผู้นับถือโกนหนวดเกลี้ยงเกลา
 ๓)  หลักคำสอน  คำสอนทางพระพุทธศาสนาที่ชาวสิกข์ต้องปฏิบัติเป็นกิจประจำวัน  ได้แก่  ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่  ทำจิตให้เต็มไปด้วยความรักในพระเป็นเจ้า  ให้ทานเสมอ พูดคำสุภาพอ่อนโยนถ่อมตน  ทำดีต่อคนอื่น  ไม่กินหรือนอนมากเกินไป  พยายามอยู่กับคนดีทั้งกลางวันและกลางคืนร่วมกับคนดีสวดบทสรรเสริญคุรุ
 ๔)  พิธีกรรม  พิธีกรรมที่ชาวสิกข์ทุกคนพึงทำ  คือ  พิธีปาหุล  หรือพิธีล้างบาป  เมื่อเสร็จพิธี  ก็รับเอา  "ก"  ทั้ง  ๕  ประการดังนี้
   เกศ  การไว้ผมยาว  เพื่อเป็นเกราะสำหรับศรีษะ  ให้ดูน่าเกรงขาม
   กังฆา  หวีไม้ขนาดเล็ก  ซึ่งเสียบไว้ในผม  เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อดูแลผมให้สะอาดเรียบร้อย
   กฉา  การเกงขาสั้น  เพื่อเป็นการสะดวกสบายและคล่องแคล่วในการเดินทาง
   กรา  กำไลมือ  ทำด้วยเหล็ก  เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจทหารว่า  เหล็กเป็นโลหะที่มีค่า  เป็นสัญลักษณ์ของความอดกลั้น  สุภาพ  และถ่อมตน  อันหมายถึง  ความผูกพันต่อหมู่คณะ
   กิรปาน  ดาบ  เพื่อสะพายที่สีข้าง  ใช้เป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญและการผจญภัยพร้อมที่จะปกป้องเกียรติของตนเอง
          ผู้ใดทำพิธีปาหุลแล้ว  ก็ได้นามว่า  "สิงห์"  ต่อท้ายชื่อเหมือนกันทุกคน  เพราะถือว่าได้ผ่านความเป็นสมบัติของพระเป็นเจ้าแล้ว